วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การทดสอบ

ชิ้นส่วนของดาวเทียมทุกชิ้นต้องได้รับการทดสอบในสภาพจำลอง เหมือนอยู่ในอวกาศจริงทั้งก่อนและหลังการติดตั้งกับดาวเทียม ชิ้นส่วนต่างๆจะทดสอบในสุญญากาศ ให้ถูกรังสี ถูกความร้อน ถูกแรงสั่น ถูกความเร่งและถูกแรงกระแทก ส่วนดาวเทียมทั้งดวงจะต้องประกอบในห้องสะอาดที่มีการกรองอากาศ และช่างเทคนิคต้องแต่งชุดอนามัย เช่น เดียวกับแพทย์ที่ทำการผ่าตัดในรงพยาบาล ทั้งนี้เพราะว่าเราจะต้องป้องกันฝุ่น เนื่องจากฝุ่นแม้เพียงเม็ดเดียว เมื่อหลงเข้าไปติดในอุปกรณ์ใดแล้ว ก็อาจยุติการทำงานของอุปกรณ์นั้นได้
อุปกรณ์บางชิ้นสำคัญจะต้องทำเผื่อไว้เป็นสองชิ้น เมื่ออุปกรณ์หนึ่งเสีย อุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งจะต้องรับงานต่อไปได้อย่างอัตโนมัติ อนึ่งในการสร้างดาวเทียมทุกขั้นตอน เราจะต้องทำการคำนวณและวาดภาพออกแบบต่างๆโดยใช้คอมพิวเตอร์

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

อุณหภูมิ

ดาวเทียมด้านที่รับแสงแดดจะร้อนมาก แต่ก้านที่อยู่ในเงาจะเย็นมาก ดังนั้นเราต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนรั่วไหลในด้านเย็น และติดตั้งกระจกเงาสะท้อนแสงในด้านร้อนอุปกรณ์บางชิ้น เช่น แบตเตอรี่ จะร้อนมากขณะใช้งาน ดังนั้นต้องมีการออกแบบให้อุปกรณ์เหล่านี้มีการระบายความร้อนออกสู่อวกาศ วิธีหนึ่งที่จะควบคุมอุณหภูมิคือ การแต่งผิวของอุปกรณ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทาสี ทาวัสดุเคลือบผิว ขัดผิวให้มัน แต่งผิวให้หยาบ หรือใช้โลหะเป็นผิวเช่น ใช้แผ่นทองคำ หรืออาจแต่งผิวของอุปกรณ์เดียวด้วยหลายๆวิธีผสมกัน เพราว่าสีวัสดุเคลือบผิวและอื่นๆดังกล่าว จะดูดกลืนและแผ่ความร้อนออกมาไม่เท่ากันการแต่งผิที่เหมาะสมจะสามารถควบคุมอุณหภูมิได้

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

วัสดุสำหรับก่อสร้างดาวทียม

วัสดุที่ใช้สร้างดาวเทียมจะต้องเบา แต่มีความแข็งแรงพอที่จะทนต่อความเร่งในขณะที่ส่งขึ้นได้ วัสดุที่ใช้ในดาวเทียมจึงมักจะทำด้วยเส้นใยคาร์บอนและอะลูมิเนียมซึ่งอะลูมิเนียมจะต้องประกอบแบบเสริมกำลังเป็นพิเศษโดยทำเป็นแผ่นโครงสร้างรังผึ้ง แผ่นรังผึ้งนี้จะใช้เป็นโครงสร้างของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ไทเทเนียมก็เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในดาวเทียม เพราเป็นโลหะที่มีความแข็งแรงมากถึงแม้จะอยู่ในที่ซึ่งร้อนจัด ไทเทเนียมมักใช้เป็นหมุดย้ำที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

รูปร่างและน้ำหนัก

ดาวเทียมต้องมีน้ำหนักเบารวมทั้งเชื้อเพลิงในดาวเทียมก็ต้องเบา ยานที่จะนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจึงจะทำงานได้สะดวก ดาวเทียมยังต้องสามารถพับได้ เพื่อให้ใส่เข้าไปพอดีในปลายจรวด หรือในห้องบรรทุกสัมภาระของยานขนส่งอวกาศ

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

การสร้างดาวเทียม

ดาวเทียมทุกดวงได้รับการสร้างให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง คลอดชั่วอายุการทำงานของดาวเทียมนั้น ซึ่งอาจจะนานถึง 10 ปี แต่ดาวเทียมกาจเสียได้บ่อยๆ เช่น ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรต่ำบางดวง ซึ่งจะต้องได้รับการซ่อมแซมจากนักบินในยานขนส่งอวกาศ ชิ้นส่วนทุกชิ้นของดาวเทียมจะต้องสร้างให้ทนทานต่อความเร่ง และการสั่นสะเทือนในขณะที่ส่งขึ้นไป และเมื่อเข้าสู่วงโคจรแล้ว ชิ้นส่วนบางชิ้นก็จะต้องได้รับการปกป้องอย่างดีจากการชนโดยเศษวัสดุในอวกาศและจากรังสีของดวงอาทิตย์
ผู้ออกแบบดาวเทียมจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาต่างๆข้างต้น และจะต้องทำให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นต่อกันจนเป็นดาวเทียมที่มีน้ำหนักและขนาดพอเหมาะ มีสมดุลพอดี ชี้หันไปในทางที่ถูก และมีการรักษาอุณหภูมิอย่างถูกต้อง

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

ดาวเทียมลุกไหม้

ดาวเทียมจะลุกไหม้สว่างมาก เมื่อตกลงมาในชั้นบรรยากาศ โดยเฉลี่ยจะมีดาวเทียมลุกไหม้ประมาณสัปดาห์ละ 2 ดวง แต่การลุกไหม้อาจเกิดในตอนกลางวัน ซึ่งมองไม่เห็น อย่างไรก็ตามเราไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีดาวเทียมลุกไหม้ที่ไหนและเมื่อไรบ้าง

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

การถ่ายภาพดาวเทียม

ท่านอาจถ่ายภาพดาวเทียมได้ตามขั้นตอนรายละเอียดข้างล่างนี้ โดยท่านจะต้องหันกล้องไปในทิศทางที่ท่านทราบว่าดาวเทียมจะปรากฏ
1. ตั้งขากล้องให้อยู่นิ่งบนสามขาหรือพื้นที่มั่นคง
2. ตั้งหน้ากล้องที่ B ซึ่งจะทำให้หน้ากล้องเปิดอยู่ตลอดเวลา
3. หันกล้องไปในทิศที่เห็นดาวเทียมและเดหน้ากล้องไว้นานประมาณ 5 นาที

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

ข่าวของดาวเทียมที่จะมาปรากฏ

การมองหาดาวเทียมไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นหนังสือพิมพ์ในท้องถิ่นมักจะตีพิมพ์ตำแหน่งของดาวเทียมที่จะเป็นได้ในอาณาบริเวณ 100 กม. จากเมืองที่บอกไว้ในคำตีพิมพ์นั้นสมาคมทางดาราศาสตร์ก็อาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตำแหน่งของดาวเทียมได้

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

วิธีมองหาดาวเทียม

ให้มองหาดาวเทียมในเวลากลางคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส โดยยืนในบริเวณที่มืดปราศจากแสงรบกวน และปิดแสงไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียงด้วย เวลาที่เหมาะคือเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกแล้ว 1 ถึง 2 ชั่วโมง เพราะขณะนั้นเงาของโลกยังไม่ขึ้นสูงพอที่จะบดบังดาวเทียมในวงโคจรระดับต่ำได้ คำแนะนำสุดท้ายคือ ให้มองไปในแนวของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะมีโอกาสเห็นดาวเทียมได้มาก

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดาวเทียมปรากฏอย่างไร

ดาวเทียมและสถานีอวกาศจะสะท้อนแสงอาทิตย์เช่นเดียวกับดวงจันทร์ ทำให้เรามองเห็นได้ในเวลากลางคืน ความสว่างของดาวเทียมจะขึ้นกับขนาดของดาวเทียมวัสดุที่เคลือบผิวและระยะไกลของวงโคจรเช่นสถานีอวกาศขนาดใหญ่ที่โคจรอยู่ต่ำ จะเป็นที่เห็นได้ง่ายที่สุด เราจะเห็นว่าสถานีประเภทนี้วิ่งไปบนท้องฟ้าด้วยความเร็วประมาณเท่ากับเครื่องบินที่บินในระดับสูง ดาวเทียมจะปรากฏเหมือนดาวจริงที่วิ่งไปบนท้องฟ้า แต่เมื่อวิ่งเข้าไปในเงาโลก ดาวเทียมนั้นก็จะมองไม่เห็น

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

การดูดาวเทียม

ดาวเทียมอาจปรากฏให้เห็นได้ในเวลากลางคืน โดยเราไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการดูแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกล้องสองตาอาจช่วยให้เห็นดาวเทียมได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะใช้ตำแหน่งและความเร็วของดาวเทียมที่มองเห็นนี้ ในการศึกษาแรงดึงดูดของโลก ทั้งนี้เพราะว่าทางเดินของดาวเทียมจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดึงดูดของโลก

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

ดาวเทียมทหาร

ดาวเทียมทั่วไปอาจใช้ประโยชน์ในทางทหารได้ด้วย เช่น ดาวเทียมสื่อสารอาจใช้ในการติดต่อระหว่างกองทัพกับฐานทัพ และใช้ในการรับสัญญาณจากสายลับ หรือจากอุปกรณ์สอดแนมอัตโนมัติที่ตั้งทิ้งไว้ในแดนข้าศึก สัญญาณจากสายลับและอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องเข้ารหัส ซึ่งผู้รับสัญญาณจะถอดรหัสได้ก็ต่อเมื่อมีเครื่องรับชนิดพิเศษที่ทำไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะเท่านั้น นอกจากนี้ทางการทหารยังอาจใช้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาธรรมดาในการบอกสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับปฏิบัติการ เช่น เสนาธิการจะต้องทราบข้อมูลจากดาวเทียมว่าพื้นที่ไหนจะแจ่มใสปราศจากเมฆ เพื่อจะได้สั่งดาวเทียมจารกรรมให้ไปทำการถ่ายภาพ ณ ที่นั้น
ดาวเทียมทหารล้วนๆมักจะเป็นความลับของทุกประเทศ และบางทีดาวเทียมพลเรือนก็อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเสริมเข้าไปเพื่อใช้งานทางทหาร


ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

ดาวเทียมวิทยาศาสตร์

ดาวเทียมวิทยาศาสตร์มีหน้าที่สำรวจโลก หรือระบบสุริยะ หรือสำรวจอวกาศในห้วงลึกมากออกไป ดาวเทียมประเภทนี้เป็นสถานสังเกตการณ์เหนือชั้นบรรยากาศซึ่งเต็มไปด้วยเมฆและฝุ่นที่จะบดบังสังเกตการณ์จากพื้นโลก และทำให้กล้องโทรทรรศน์บนโลกไม่อาจเห็นวัตถุในอวกาศได้ชัดเจน นอกจากนี้ชั้นบรรยากาศยังบดบังแสงจากวัตถุท้องฟ้าทำให้ปรากฏมืดมิดลงจนเห็นได้ยาก ดังนั้นดาวเทียมซึ่งขึ้นไปอยู่เหนือชั้นบรรยากาศ จึงสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นและส่งภาพนั้นลงมาให้เราดูได้
ดาวและกาแลกซี่ส่งรังสีออกมาหลายชนิด โดยเฉพาะเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ เช่น การระเบิดของดาวจะส่งรังสีหลากหลายมาก อย่างไรก็ตาม ชั้นบรรยากาศของโลกจะกั้นรังสีส่วนใหญ่ไม่ให้ตกถึงพื้นดิน รังสีเหล่านี้จึงต้องตรวจจับและวัดโดยเครื่องมือดาวเทียม หรือสถานีอวกาศ

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

ดาวเทียมนำร่อง

นักเดินเรือได้สังเกตดาวฤกษ์เพื่อหาตำแหน่งและทิศทางของเรือในการนำร่องมาหลายร้อยปีแล้ว แต่ในปัจจุบันเราใช้ดาวเทียมนำร่องแทนดาวจริง ดาวเทียมจะส่งสัญญาณวิทยุเพื่อบอกค่าตำแหน่งของดาวเทียมนั้น และบอกเวลาที่ถูกต้องลงมาให้แก่เรือ จากนั้นนักเดินเรือจะต้องใช้ข้อมูลจากสัญญาณของดาวเทียมพร้อมกัน 4 ดวง เพื่อนำมาคำนวณหาตำแหน่งของเรือบนโลก ประเทศรัสเซีย สหรัฐ และประเทศในยุโรป กำลังวางโครงการและกำลังทดสอบระบบดาวเทียมนำร่องระบบใหม่ เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ดังเช่นตัวอย่างระบบใหม่ระบบหนึ่งดังต่อไปนี้
แนฟสตาร์
สหรัฐกำลังสร้างและทดสอบระบบจีพีเอส (GPS = Global Positioning System) เพื่อใช้เป็นระบบนำร่องทั่วโลก ระบบนี้ใช้ดาวเทียมแนฟสตาร์ 18 ดวง ซึ่งกระจายอยู่ในวงโคจรรูปวงกลม 6 วง วงละ 3 ดวง วงโคจรทุกวงจะอยู่สูง 20,000 กม. จากพื้นโลก ซึ่งสูงพอที่จะรอดพ้นจากการทำลายของชาติศัตรู ระบบนี้สามารถจะใช้นำทางแก่กองทัพ หรือขีปนาวุธ ให้ไปถึงที่หมายได้ โดยที่ข้าศึกมิอาจส่งสัญญาณรบกวนอย่างเป็นผลได้
ดาวเทียมแนฟสตาร์ เป็นดาวเทียมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากประกอบด้วยชิ้นส่วนถึงกว่า 33,000 ชิ้น แนฟสตาร์แต่ละดวงจะมีนาฬิกาอะตอม 4 เรือน ซึ่งมีความผิดพลาดเพียง 1 วินาทีในเวลา 36,000 ปี ดาวเทียมจะส่งสัญญาณแจ้งตำแหน่งของตนและเวลาลงมายังโลกตลอดเวลา ผู้ที่อยู่บนโลกจะต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถรับสัญญาณจากแนฟสตาร์ครั้งละ 4 ดวงพร้อมกัน จึงจะสามารถคำนวณหาตำแหน่งของยานพาหนะได้ ผลการคำนวณจะมีความผิดพลาดเพียง 15 ม. สำหรับเครื่องบิน เราก็อาจคำนวณได้ทั้งตำแหน่งในแนวราบและแนวสูง ส่วนความเร็วของยานพาหนะจะสามารถคำนวณหาได้โดยมีความผิดพลาดเพียง 0.1 ม./วินาที


ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ


เป็นดาวเทียมที่ใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก เช่น ดาวเทียมแลนต์แซต ดาวเทียมสปอต ดาวเทียมมอส-1
ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดาวเทียมออกอากาศตรง

จานสายอากาศขนาดเล็กบนตึกหรือในสวน อาจรับสัญญาณจากดาวเทียมสื่อสารได้โดยตรง ถ้าจานนั้นอยู่ภายในรอยเท้าของดาวเทียม จัดเป็นการรับสัญญาณออกอากาศโดยตรงจากดาวเทียม ทำให้ผู้ชมโทรทัศน์ที่มีอุปกรณ์ครบเครื่องสามารถรับโทรทัศน์ได้มากช่องขึ้น ทั้งนี้จานสายอากาศจะต้องหันชี้ไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก
ในบางประเทศประชาชนอาจติดตั้งระบบรับสัญญาณจากดาวเทียมได้อย่างอิสระ แต่ในบางประเทศประชาชนจะต้องมีใบอนุญาตถึงจะติดตั้งสถานีภาคพื้นดินได้ อย่างไรก็ตามในอนาคตทุกประเทศคงเปิดเสรีมากขึ้น เพราะว่าระบบดาวเทียมจะแพร่หลายไปทั่วโลกโดยผ่านทางดาวเทียมออกอากาศตรง ที่ส่งสัญญาณด้วยกำลังสูง ทำให้สามารถใช้จานรับสัญญาณขนาดเล็กได้ ในปัจจุบันจะเห็นว่าจานรับสัญญาณดาวเทียมบนหลังคาบ้านต่างๆ เป็นภาพปกติที่เห็นได้ทั่วไปในหลายประเทศ

ที่มา : http://www.hackmun.8m.com/

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การตรวจเมฆโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

เมฆในท้องฟ้าเป็นเครื่องแสดงอันสำคัญที่จะทำให้เราทราบถึงลักษณะอากาศปัจจุบันและลักษณะอากาศล่วงหน้าได้ (ดูภาพและคำอธิบายเกี่ยวกับเมฆในตอนหลัง) ในการตรวจเมฆ เราอาจจะใช้เครื่องมือหรือตรวจด้วยตาเปล่าก็ได้ สิ่งที่เราต้องการทราบในการตรวจเมฆก็คือ จำนวนของเมฆในท้องฟ้านั้นมีอยู่เป็นอัตราส่วนเท่าไรกับท้องฟ้าทั้งหมด โดยแบ่งท้องฟ้าออกเป็น ๘ ส่วน (OKTA) ถ้ามีเมฆ ๔ ส่วนหมายความว่า มีเมฆครึ่งท้องฟ้า นอกจากนี้แล้วเรายังต้องการทราบว่า เป็นเมฆชนิดใด และมีฐานสูงเท่าใดด้วย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศต่อไป

การตรวจทัศนวิสัย
คำว่า ทัศนวิสัย (visibility) หมายถึงระยะทางตามแนวนอนซึ่งผู้ตรวจอากาศสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัด ทัศนวิสัยเป็นสิ่งสำคัญในการบินและการเดินเรือ สิ่งที่ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดีหรือทัศนวิสัยเลว คือ หมอก เมฆ ฝน ฝุ่น และควัน การมีทัศนวิสัยเลวเป็นอันตรายแก่การบินและการเดินเรือ เพราะเครื่องบินอาจจะขึ้นลงทางวิ่งได้ยากหรืออาจจะชนกันก็ได้ หรือในบริเวณตามท่าเรือหรือตามช่องแคบ เรืออาจจะชนกันก็ได้ เพราะแต่ละฝ่ายต่างมองไม่เห็นกัน การตรวจทัศนวิสัยโดยมากใช้การสังเกตดูวัตถุหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอาจเห็นได้ในระยะไกลๆ รอบๆบริเวณที่ทำการของผู้ตรวจ เช่น ตึกใหญ่ ยอดเจดีย์เสาธง ปล่องไฟ ฯลฯ เป็นเครื่องหมาย โดยเราทราบระยะทางไว้ก่อนจากแผนที่ จากนั้นเราก็ใช้เครื่องหมายเหล่านั้นในการคาดคะเนระยะของทัศนวิสัย นอกจากการตรวจด้วยสายตาแล้ว ยังมีเครื่องมือตรวจทัศนวิสัยด้วย ซึ่งเรียกว่า ทรานสมิสโซมิเตอร์ (transmissometer)
ที่มา : http://guru.sanook.com/search/การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

จากวิวัฒนาการดาวเทียมในยุคอวกาศ นักอุตุนิยมวิทยาได้มีเครื่องมืออย่างดีเลิศอีกอย่างหนึ่งในการตรวจอากาศ คือ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (meteorological satellite) ตามธรรมดาแล้วสถานีตรวจอากาศแห่งหนึ่งๆ สามารถตรวจสารประกอบอุตุนิยมวิทยาได้เพียงบริเวณเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางแห่ง เช่น ในมหาสมุทร ทะเลทราย หรือในบริเวณขั้วโลกด้วยแล้ว จะทำการตรวจอากาศได้น้อยมาก เพราะบริเวณเหล่านั้นไม่ค่อยจะมีมนุษย์อาศัยอยู่ ข้อมูลที่ได้รับจากดาวเทียมนี้จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยพยากรณ์อากาศและช่วยในการจับภาพพายุไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคนได้เป็นอย่างดี ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยามีกล้องสำหรับถ่ายภาพเมฆ และสามารถส่งภาพกลับมายังสถานีรับที่พื้นดินได้ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพเมฆได้เป็นบริเวณกว้างทั้งในมหาสมุทรและแผ่นดิน ยิ่งกว่านั้นยังเป็นเครื่องมือเฝ้าดูการเกิดของพายุได้ด้วย เช่น การเกิดพายุไต้ฝุ่นเป็นต้น นอกจากนี้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยายังสามารถวัดรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกไปจากโลกได้ และยังจะช่วยในการตรวจฟ้าแลบ การเคลื่อนตัวของเมฆ และการวัดอุณหภูมิตามระดับต่างๆ ได้ด้วย นอกจากนี้ดาวเทียมยังมีประโยชน์ในด้านวิชาภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา เป็นต้น เช่น ภาพดาวเทียมแสดงบริเวณของแม่น้ำ ทะเลน้ำแข็ง หิมะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการพยากรณ์น้ำท่วม ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาบางดวงของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ดาวเทียมไทรอส (TIROS ย่อมาจาก Television and Infrared Observation Satellite) ดาวเทียมนิมบัส (NIMBUS มาจากภาษาละตินแปลว่าเมฆ) ดาวเทียมเอสสา (ESSA ย่อมาจาก Earth or En-vironmental Survey Satellite) ดาวเทียมโนอา (NOAA ย่อมาจาก National Ocea-nographic and Atmospheric Administration) ดาวเทียมแอตส์ (ATS ย่อมาจาก Advanced Tech-nology Satellite)



ที่มา : http://guru.sanook.com/search/การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

เรดาร์สำหรับตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา


ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและอเมริกันต่างได้ช่วยกันค้นคว้าสร้างเรดาร์ เพื่อตรวจหาตำแหน่งเครื่องบินและเรือรบของข้าศึก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามได้ ในสมัยต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เรดาร์สามารถใช้ตรวจฝนและหิมะได้ ฉะนั้นนักอุตุนิยมวิทยาจึงได้อาศัยเรดาร์เป็นเครื่องมือตรวจการเคลื่อนตัวของพายุฟ้าคะนอง และพายุไต้ฝุ่นได้เป็นอย่างดี เรดาร์สามารถจับการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นได้เมื่อศูนย์กลางของพายุเข้ามาอยู่ในระยะ ๒๐๐ ถึง ๘๐๐ กิโล-เมตร (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังของเรดาร์) เรดาร์เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมีแต่หลักการคือ เรดาร์ส่งคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงมากราว ๓,๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์ มีความยาวคลื่นระหว่าง ๓ ถึง ๑๐ เซนติเมตร เมื่อคลื่นความถี่สูงนี้ไปกระทบเป้าหมายเข้า ก็จะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับภาพ จากค่าความเร็วของคลื่นวิทยุซึ่งมีค่าเท่ากับความเร็วของแสงคือ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร ต่อวินาทีกับระยะเวลาที่คลื่นเดินทางไปและกลับ เราก็สามารถหาระยะทางของเป้าว่าอยู่ห่างจากเครื่องรับเท่าไรได้เม็ดน้ำ (water droplets) และอนุภาคน้ำแข็ง (ice particles) ขนาดใหญ่สามารถสะท้อนคลื่นเรดาร์ได้โดยทั่วๆ ไปแล้ว สิ่งที่เป็นเป้าหมายขนาดใหญ่ๆ ก็สามารถสะท้อนคลื่นเรดาร์ได้ดี เช่น ลูกเห็บ เป็นต้น เรดาร์อุตุนิยมวิทยามีประโยชน์มากในการตรวจการเคลื่อนตัวของพายุฟ้าคะนอง พายุดีเปรสชัน หรือไต้ฝุ่น เมื่อนักอุตุนิยมวิทยาทราบทิศและความเร็วของการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นก็จะได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมตัวป้องกันภัยอันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นให้ลดน้อยลงได้นอกจากนี้แล้วจากการวัดความแรง (strength) ของภาพสะท้อนที่จอเรดาร์จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาอัตราของปริมาณฝนที่ตกลงมาได้ด้ว

ที่มา : http://guru.sanook.com/search/การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

การหยั่ง (ตรวจ) อากาศในทางตั้งโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

นอกจากการตรวจอากาศตามผิวพื้นซึ่งอยู่ในระดับราบแล้ว นักอุตุนิยมวิทยายังต้องการทราบถึงความกด อุณหภูมิ ความชื้น ทิศและความเร็วของลมในระดับสูงๆ ด้วย เพราะว่าข้อมูลของสารประกอบอุตุนิยมวิทยาเหล่านี้ มีประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศ เช่นเดียวกับการสร้างบ้าน ตึก หรือ อาคารนอกจากจะดูแบบแปลนพื้นชั้นล่างแล้ว เราก็ต้อง การดูแบบแปลนชั้นบนๆ ด้วย เพื่อที่เราจะได้ทราบลักษณะของบ้านตึก หรืออาคารได้ดีขึ้น เครื่องมือสำหรับตรวจอากาศในระดับสูงๆเรียกว่า เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เครื่องวิทยุหยั่งอากาศเป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับเครื่องส่งคลื่นวิทยุ เครื่องส่งวิทยุนี้มีขนาดเล็กและมีแบตเตอรี่ บรรจุอยู่ด้วยเพื่อใช้เป็นพลังส่งคลื่นวิทยุ เมื่อเราใช้เครื่องวิทยุหยั่งอากาศผูกติดกับลูกโป่งขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนหรือก๊าซฮีเลียม ลูกโป่งก็จะพาเครื่องวิทยุหยั่งอากาศขึ้นไปยังระดับสูงๆแล้วเครื่องวิทยุหยั่งอากาศสามารถส่งคลื่นวิทยุขนาดต่างๆ มายังเครื่องรับที่พื้นดิน ซึ่งเครื่องรับที่พื้นดิน จะแปลความหมายของคลื่นต่างๆ ให้เป็นความกดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในระดับต่างๆ ได้ และเมื่อเราใช้เครื่องมือคอยจับทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกโป่งในระยะเวลาทุกๆ นาที ก็จะสามารถคำนวณหาทิศและความเร็วของลมในระดับต่างๆ ได้ด้วย ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยาเป็นอันมาก

ที่มา : http://guru.sanook.com/search/การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การตรวจลมในระดับสูงโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

การตรวจลมในระดับสูงจากพื้นดินมีความสำคัญในการพยากรณ์และการเข้าใจภาวะของอากาศและมีความสำคัญในการบินเป็นอย่างมาก การตรวจลมในระดับสูงนี้ ทำได้โดยใช้เครื่องเรดาร์หรือลูกโป่งลอยหรือลูกบัลลูนนำ (pilot balloon) ที่มีก๊าซไฮโดรเจนหรือฮีเลียมบรรจุอยู่ กับใช้กล้องวัดมุม (theodolite)ซึ่งเป็นกล้องที่มีลักษณะคล้ายกับกล้องที่ใช้ในการสำรวจแผนที่ กล้องวัดมุมนี้ สามารถวัดมุมตามแนวนอน และแนวตั้งของลูกโป่งที่กำลังลอยอยู่เพื่อนำไปคำนวณหาตำแหน่งและความเร็วของลูกบัลลูน เมื่อเราทำการตรวจตำแหน่งและความสูงของบัลลูนเป็นระยะๆ แล้ว เราก็สามารถใช้วิชาตรีโกณ-มิติคำนวณหาความเร็วและทิศของลมได้สะดวก การใช้ลูกบัลลูนนำกับกล้องวัดมุมนั้น มีข้อเสียอยู่บ้างตรงที่ว่า ถ้าบัลลูนผ่านเข้าไปในเมฆ หรือขณะที่มีเมฆมากผู้ตรวจจะมองไม่เห็นลูกบัลลูนและไม่สามารถทำการตรวจต่อไปได้ ในการแก้ปัญหานี้ เราใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเรดาร์ตรวจหาความเร็วของลมแทนกล้องวัดมุมได้ เพราะเครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเรดาร์สามารถส่งสัญญาณผ่านเมฆได้ แต่เครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องเรดาร์เป็นของซึ่งมีราคาแพงมาก
การหยั่ง (ตรวจ) อากาศในทางตั้ง นอกจากการตรวจอากาศตามผิวพื้นซึ่งอยู่ในระดับราบแล้ว นักอุตุนิยมวิทยายังต้องการทราบถึงความกด อุณหภูมิ ความชื้น ทิศและความเร็วของลมในระดับสูงๆ ด้วย เพราะว่าข้อมูลของสารประกอบอุตุนิยมวิทยาเหล่านี้ มีประโยชน์มากในการพยากรณ์อากาศ เช่นเดียวกับการสร้างบ้าน ตึก หรือ อาคารนอกจากจะดูแบบแปลนพื้นชั้นล่างแล้ว เราก็ต้อง การดูแบบแปลนชั้นบนๆ ด้วย เพื่อที่เราจะได้ทราบลักษณะของบ้านตึก หรืออาคารได้ดีขึ้น เครื่องมือสำหรับตรวจอากาศในระดับสูงๆเรียกว่า เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เครื่องวิทยุหยั่งอากาศเป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายกับเครื่องส่งคลื่นวิทยุ เครื่องส่งวิทยุนี้มีขนาดเล็กและมีแบตเตอรี่ บรรจุอยู่ด้วยเพื่อใช้เป็นพลังส่งคลื่นวิทยุ เมื่อเราใช้เครื่องวิทยุหยั่งอากาศผูกติดกับลูกโป่งขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจนหรือก๊าซฮีเลียม ลูกโป่งก็จะพาเครื่องวิทยุหยั่งอากาศขึ้นไปยังระดับสูงๆแล้วเครื่องวิทยุหยั่งอากาศสามารถส่งคลื่นวิทยุขนาดต่างๆ มายังเครื่องรับที่พื้นดิน ซึ่งเครื่องรับที่พื้นดิน จะแปลความหมายของคลื่นต่างๆ ให้เป็นความกดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในระดับต่างๆ ได้ และเมื่อเราใช้เครื่องมือคอยจับทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกโป่งในระยะเวลาทุกๆ นาที ก็จะสามารถคำนวณหาทิศและความเร็วของลมในระดับต่างๆ ได้ด้วย ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยาเป็นอันมาก

ที่มา : http://guru.sanook.com/search/

เครื่องมือสำหรับวัดความชื้นในบรรยากาศ

๑. ไซโครมิเตอร์แบบตุ้มแห้ง - ตุ้มเปียก(dry and wet bulb psychrometer) ซึ่งประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์สองอัน อันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาหรือเรียกว่า "ตุ้มแห้ง" อีกอันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ซึ่งมีผ้ามัสลินหรือผ้าเปียกหุ้มที่ตุ้ม ซึ่งมีสายต่อไปยังถ้วยน้ำข้างใต้เรียกว่า "ตุ้มเปียก" เมื่อเปิดพัดลมลมจะพัดทำให้ระดับปรอทของตุ้มเปียกลดลงเนื่องจากการระเหยของน้ำ อุณหภูมิต่ำสุดที่ปรอทลดลงนี้เรียกว่า "อุณหภูมิตุ้มเปียก" (wet bulb temperature)จากค่าของอุณหภูมิตุ้มแห้ง และตุ้มเปียกนี้ สามารถคำนวณหาความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศได้จากค่าในตารางซึ่งได้คำนวณไว้แล้ว

๒. ไฮโกรกราฟ (hygrograph) คือ เครื่องบันทึกค่าความชื้นของอากาศลงบนกระดาษกราฟ โดยใช้เส้นผมของมนุษย์หรือขนของสัตว์บางชนิด นำมาขึงให้ตึงและต่อกับคานกระเดื่องและแขนปากกา เส้นผมยืดและหดตัวตามการเปลี่ยนแปลงของความชื้นของบรรยากาศ คือ จะยืดตัวเมื่อความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูงขึ้น การยืดและหดของเส้นผมนี้จะทำให้คานกระเดื่อง และแขนปากกาเขียนเส้นบนกระดาษกราฟและแสดงตัวเลขของความชื้นของอากาศ เครื่องบันทึกที่สามารถบันทึกอุณหภูมิ ความกด และความชื้นสัมพัทธ์ ได้พร้อมกัน ๓ อย่างนี้เรียกว่า "บารอเทอร์มอ ไฮโกรกราฟ" (barothermo-hygrograph)

ที่มา : http://guru.sanook.com/search/

การวัดความชื้นในบรรยากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

การวัดความชื้นหรือปริมาณไอน้ำในบรรยากาศมีความสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเช่นกัน เพราะปริมาณไอน้ำเป็นสิ่งที่ช่วยบอกความเป็นไปของอากาศปัจจุบันและล่วงหน้าได้ด้วย การวัดความชื้นในบรรยากาศวัดได้หลายวิธีดังนี้ ๑. การวัดความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) คือการวัดอัตราส่วน (เป็นร้อยละ) ของจำนวนไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศในขณะนั้น ต่อจำนวนไอน้ำที่อาจจะมีอยู่ได้ เมื่ออากาศนั้นอิ่มตัวด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน ๒. การวัดความชื้นสัมบูรณ์ (absolute humidity) คือการวัดปริมาณของไอน้ำในอากาศเป็นกรัมต่ออากาศชื้นหนัก ๑ กิโลกรัม ๓. การวัดอัตราส่วนผสม (mixing ratio) คือการวัดปริมาณของไอน้ำในอากาศเป็นกรัมต่ออากาศแห้งหนัก ๑ กิโลกรัม โดยที่ปริมาณไอน้ำในอากาศมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับน้ำหนักของอากาศ ดังนั้นจะเห็นว่า ความชื้นสัมบูรณ์ และอัตราส่วนผสม เป็นตัวเลขใกล้เคียงกันและบางครั้งอาจใช้แทนกันได้ ๔. การวัดจุดน้ำค้าง (dew point) คือการวัดอุณห-ภูมิของอากาศ เมื่ออากาศนั้นเย็นลงจนถึงจุดอิ่มตัวโดยความกดอากาศและปริมาณไอน้ำไม่เปลี่ยนแปลง น้ำค้าง (dew) คือไอน้ำซึ่งกลั่นตัวบนต้นไม้ หญ้าหรือวัตถุซึ่งอยู่ตามพื้นดิน และจะเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่าจุดน้ำค้าง อุณหภูมิของจุดน้ำค้างมีประโยชน์สำหรับแสดงลักษณะอากาศว่าชื้นหรือแห้งมากน้อยเท่าใด ถ้าอุณหภูมิของอากาศใกล้เคียงกับอุณหภูมิของจุดน้ำค้างก็แสดงว่าไอน้ำในอากาศพร้อมที่จะกลั่นตัวเป็นเมฆหรือหมอกได้ง่าย ความชื้นสัมพัทธ์คือตัวเลข (เป็นร้อยละ) ซึ่ง แสดงถึงความสามารถของอากาศที่จะรับจำนวนไอน้ำไว้ได้ ณ อุณหภูมิที่เป็นอยู่ขณะนั้น หรือแสดงว่าในขณะนั้นอากาศอยู่ใกล้กับการอิ่มตัวเพียงใด เมื่อมีไอน้ำอยู่ในบรรยากาศเต็มที่เราเรียกว่า "อากาศอิ่มตัว" (saturation) คืออากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ ๑๐๐ นั่นเอง จากการทดลองเราทราบว่าในอากาศอิ่มตัว ๑ ลูกบาศก์เมตรที่ ๒๐° ซ. มีจำนวนไอน้ำ ๑๗.๓ กรัมแต่ถ้าวันใดที่อุณหภูมิ ๒๐° ซ. มีจำนวนไอน้ำอยู่เพียง ๑๐ กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะหาความชื้นสัมพัทธ์ได้ ดังนี้
ความชื้นสัมพัทธ์ = ๑๐.๐๑๗.๓ x ๑๐๐ = ๕๘%

การวัดปริมาณน้ำฝนโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ปริมาณน้ำฝนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งในอุตุนิยมวิทยา เพราะน้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกสิกรรมและอื่นๆ พื้นที่ใดจะอุดมสมบูรณ์และสามารถทำการเพาะปลูกได้หรือจะเป็นทะเลทรายก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในบริเวณนั้น เราวัดปริมาณน้ำฝนตามความสูงของจำนวนฝนที่ตกลงมาจากท้องฟ้าโดยให้น้ำฝนตกลงในภาชนะโลหะซึ่งส่วนมากเป็นรูปทรงกระบอก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของปากกระบอกเป็นขนาดจำกัด เช่น ปากกระบอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘ นิ้ว หรือประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ฝนจะตกผ่านปากกระบอกลงไปตามท่อกรวยสู่ภาชนะรองรับน้ำฝนไว้ เมื่อเราต้องการทราบปริมาณน้ำฝน เราก็ใช้ไม้บรรทัดหยั่งความลึกของฝน หรืออาจใช้แก้วตวงที่มีมาตราส่วนแบ่งไว้สำหรับอ่านปริมาณน้ำฝน เป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตร สำหรับประเทศไทยวันใดที่มีฝนตก ณ แห่งใด หมายความว่ามีปริมาณฝนตก ณ ที่นั้นอย่างน้อย ๐.๑ มิลลิเมตร ขึ้นไป เพราะฉะนั้นในเดือนที่มีฝนตกโดยมีจำนวนวันเท่ากันก็ไม่จำเป็นจะต้องมีปริมาณน้ำฝนเท่ากัน และควรจะทราบด้วยว่า เมื่อทราบความสูงของน้ำฝน ณ ที่ใดแล้ว ก็อาจจะประมาณจำนวนลูกบาศก์เมตรของน้ำฝนได้ถ้าทราบเนื้อที่ของบริเวณที่มีฝนตก ในการรายงานปริมาณน้ำฝนนั้น จะรายงานว่าฝนตกเล็กน้อย ฝนตกปานกลาง ฝนตกหนัก หรือฝนตกหนักมาก แต่การที่จะตั้งเกณฑ์สากลที่เรียกว่าฝนตกเล็กน้อย หรือตกปานกลางเป็นจำนวนเท่าใดหรือกี่มิลลิเมตรนั้น ไม่อาจจะกระทำได้ เพราะเหตุว่าสภาพของฝนแต่ละประเทศนั้นมีปริมาณไม่เหมือนกัน เครื่องวัดน้ำฝนมีอยู่หลายชนิด เช่น ๑. เครื่องวัดน้ำฝนแบบธรรมดาหรือแบบแก้วตวง (ordinary raingage) ๒. เครื่องวัดน้ำฝนแบบบันทึก (recording raingage) เป็นชนิดที่มีปากกาเขียนด้วยหมึก สำหรับบันทึกปริมาณน้ำฝนไว้เป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง หรือตลอดสัปดาห์หรือนานกว่านี้ ซึ่งมีทั้งแบบชั่ง (weighing raingage) และแบบกาลักน้ำ (siphon raingage)

ที่มา : http://guru.sanook.com/search/

การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา



การวัดความเร็วและทิศทางของลม ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์"(anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัดหรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบและมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์ การวัดความเร็วและทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่น นอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมง กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไมล์ (บก) ต่อชั่วโมง นอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ[กลับหัวข้อหลัก]
เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด

มาตราลมโบฟอร์ต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิสโบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔-๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนามาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ในการเดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau-fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่งกำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒
ที่มา : http://guru.sanook.com/search/

การวัดอุณหภูมิของอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

อุณหภูมิเป็นสารประกอบสำคัญยิ่งอันหนึ่งในวิชาอุตุนิยมวิทยา นักอุตุนิยมวิทยาต้องการทราบอุณหภูมิของอากาศตามระดับต่างๆ ตั้งแต่ผิวพื้นโลกขึ้นไปยังระดับสูงถึง ๒๐ กิโลเมตรหรือสูงกว่านั้น การวัดอุณหภูมิที่พื้นโลกอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกันวิธีที่ปฏิบัติกันมากที่สุดคือการใช้เทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งมีของเหลว เช่น ปรอทบรรจุในหลอดแก้วคล้ายๆกับการวัดอุณหภูมิอย่างอื่นๆ บางครั้ง เมื่อต้องการทราบผลการบันทึกอุณหภูมิตลอดชั่วโมง หรือตลอดวันหรือนานกว่านั้นเราก็ต้องใช้เครื่องบันทึกอุณหภูมิได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า "เทอร์มอกราฟ" (thermograph) นอกจากการตรวจอุณหภูมิดังกล่าวแล้ว นักอุตุนิยมวิทยายังต้องการทราบว่าในวันหนึ่งๆ อุณหภูมิของอากาศจะร้อนสูงสุดและเย็นต่ำสุดเท่าใด ในการนี้เราใช้เทอร์มอมิเตอร์สูงสุด (maximum thermometer) และเทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุด (minimum thermometer) สำหรับตรวจค่าอุณหภูมิที่เราต้องการได้ เราอาจเปลี่ยนจากมาตราหนึ่งไปอีกมาตราหนึ่งได้ โดยสูตรต่อไปนี้ (๑) ๙ ๕ (...°ซ.) + ๓๒ = .......°ฟ.
ตัวอย่าง ให้เปลี่ยน ๓๐ °ซ.เป็นองศาฟาเรนไฮต์
๙ ๕ (๓๐) + ๓๒ = ๕๔ + ๓๒
= ๘๖ °ฟ.
(๒) ๕ ๙ (...°ฟ.) - ๓๒ = .......°ซ.
ตัวอย่าง ให้เปลี่ยน ๕๙ °ฟ.เป็นองศาเซลเซียส
๕ ๙ (๕๙-๓๒) = ๕
๙ (๒๗) = ๑๕ °ซ.





ที่มา : http://guru.sanook.com/search/

การวัดความกดอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ในวิชาอุตุนิยมวิทยา การวัดความกดอากาศมีความสำคัญมาก เพราะในบริเวณความกดอากาศสูง (high pressure) หรือแอนติไซโคลน (anticyclone) มักจะมีอากาศดีและสงบ ส่วนบริเวณความกดอากาศต่ำ (low pressure) หรือไซโคลน (cyclone) มักจะมีอากาศไม่ดี เช่น พายุ หรือฝน นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า ซึ่งเราจะเปรียบเทียบกันได้ตามหลักการคำนวณต่อไปนี้ ถ้าความสูงของปรอทเท่ากับ ๗๖ เซนติเมตรเราจะคำนวณความกดของอากาศได้ดังนี้ ความกด = ความสูงของปรอท x ความหนาแน่นของปรอท x อัตราเร่งของโลก
= ๗๖ ซม. x ๑๓.๖ กรัม/ซม.๓ x ๙๘๐.๔ ซม./วินาที๒
= ๑,๐๑๓,๓๔๑ ไดน์/ซม.๒
จากมาตรา ๑ บาร์ (bar) = ๑,๐๐๐,๐๐๐ ไดน์ต่อตารางเซนติเมตร
๑ บาร์ = ๑,๐๐๐ มิลลิบาร์
๑ มิลลิบาร์ = ๑,๐๐๐ ไดน์ต่อตารางเซนติเมตร
ฉะนั้น ความกดสูง ๗๖ เซนติเมตรของปรอท = ความสูงของปรอท ๒๙.๙๒ นิ้ว
= ๑,๐๑๓,๓๔๑ ไดน์ต่อ ๑ ตารางเซนติเมตร
= ๑๔.๗ ปอนด์ต่อ ๑ ตารางนิ้ว
= ๑,๐๑๓.๓ มิลลิบาร์
นอกจากบารอมิเตอร์ปรอทแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังใช้เครื่องวัดความกดอากาศอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า"บารอมิเตอร์แบบแอนิรอยด์" (aneroid barometer)คำว่า "แอนิรอยด์" แปลว่าไม่เปียก (คือแห้ง) หลักของแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ก็คือ การใช้กล่องโลหะ ซึ่งดูดอากาศออกเป็นบางส่วน เป็นเครื่องวัดความกดของอากาศ เมื่อความกดของอากาศเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้กล่องโลหะนั้นขยายหรือหดตัว เราสามารถใช้คานต่อจากกล่องโลหะไปที่หน้าปัดเพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศได้ ถ้าเรามีความประสงค์จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงความกดของอากาศตลอดชั่วโมง ตลอดวัน หรือตลอดเดือน ก็สามารถทำได้ โดยใช้แขนปากกาต่อกับกล่องโลหะ ซึ่งถูกดูดอากาศออกเป็นบางส่วน แล้วใช้แผ่นบักทึก ความกดม้วนรอบกระบอก ซึ่งหมุนด้วยลานนาฬิกา เครื่องบันทึกความกดอากาศนี้เรียกว่า "บารอกราฟ" (barograph)


ตัวอย่างดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ดาวเทียม GMS-5 (Geostationary Meteorological Satellite 5) ใช้ระบบ VISSR (Visible and Infrared Spin Scan Radiometer) เพื่อใช้ตรวจ สอบพื้นผิวโลก ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น คือ 0.55 - 1.05 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 1.25 กม. ช่วงคลื่นอินฟราเรด 10.5 - 12.5 ไมโครเมตร และช่วงคลื่น 6.2 - 7.6 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 5 กม. มีระบบ Weathersensor 200 ที่รับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียม GMS-5 ซึ่งโคจรที่ระดับความสูง 35,800 กม. ในวงโคจรค้างฟ้า เหนือเส้นศูนย์สูตร ณ ตำแหน่งลองจิจูด 140 องศาตะวันออก ระบบนี้สามารถแสดงอุณหภูมิ และความหนาแน่นของเมฆหมอกด้วยการใช้ระดับสี ดาวเทียม GMS-5 สำรวจครอบคลุมบริเวณย่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทางเอเชีย โดยเหตุที่สภาพภูมิอากาศในย่านมหาสมุทร และเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ งานด้านการบิน (Aviation) การศึกษา (Education) และการป้องกันภัยพิบัติ (Disaster prevention) ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำมาใช้สำหรับงานวิจัยและการสาธิตต่าง ๆ ระบบ Weathersensor 200 ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการรับข้อมูลของสภาพภูมิอากาศ ล่าสุด ณ เวลา และบริเวณที่ต้องการ
ดาวเทียม NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration) โคจรที่ระดับความสูงประมาณ 850 กม. ในวงโคจรแบบ สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ทำการถ่ายภาพด้วยระบบ AVHRR (Advanced Very High Resolution Radiometer) ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น 2 ช่วงคลื่น และช่วงคลื่นความร้อน 2 ช่วงคลื่น ได้แก่ 0.55 - 0.90 ไมโครเมตร, 0.725 - 1.0 ไมโครเมตร, 10.5 - 11.5 ไมโครเมตร และ 3.55 - 3.93 ไมโครเมตร นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มช่วงคลื่นความร้อนช่วงที่ 3 เพื่อใช้ในการหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว มีรายละเอียดของภาพ 1.1 กม. ในแนวดิ่ง ความกว้างของแนวภาพ 2,800 กม. บันทึกข้อมูลวันละ 2 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้มีระบบ TOVS (TIROS Operational Vertical Sounder) ใช้ในการคำนวณค่าอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศในแนวดิ่ง แยกได้เป็น 3 ระบบย่อย คือ 1. HIRS/2 ( High Resolution Infrared Radiometer )
2. SSU ( Stratospheric Sounding Unit)
3. MSU ( Microwave Sounding Unit )




ที่มา : http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin005/section2_p01.html

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด (Infared) โดยมีดาวเทียม Essa 1 เป็นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรก ของโลก ซึ่งถูกส่งขึ้นไปโดยสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1966
วิธีการทำงาน เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บนดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละดวง
วิถีการโคจร ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจะมีลักษณะการโคจรทั้งแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์(Sun-Synchronous) ซึ่งเป็นวงโคจรในแนวเหนือ-ใต้ และผ่านแนวละติจูดหนึ่ง ๆ ที่เวลาท้องถิ่นเดียวกัน และแบบโคจรเป็นวงในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร หรือที่เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)" ซึ่งวงโคจรจะแตกต่างกันตามพื้นที่ ที่ครอบคลุมการใช้งาน



ประโยชน์ที่ได้รับ - ช่วยบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ โดยสามารถเตือนให้ทราบถึงพายุต่างๆ
- พยากรณ์อากาศ และใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ทางอุตุนิยมวิทยา
- ตรวจอุณหภูมิเมฆ อุณหภูมิผิวหน้าทะเล อุณหภูมิผิวหน้าดิน และดัชนีพืช

ที่มา : http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin005/section2_p01.html

จีนทุ่ม สร้าง-ปล่อยดาวเทียมสื่อสาร ให้รบ.ลาว


รบ.จีน ทุ่ม สร้างและปล่อยดาวเทียมสื่อสารให้ รบ.ลาว เผยเคยดำเนินการให้ ไนจีเรีย-เวเนซูเอลามาแล้ว เตรียมปล่อยดาวเทียมสื่อสารให้กับโบลิเวียอีกภายใน 3 ปี
สำนักข่าว ต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 26 ก.ย. ว่า รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเตรียมสร้างและปล่อยดาวเทียมสื่อสารให้กับรัฐบาล สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)โดยดาวเทียมดังกล่าวชื่อ "ตงฟาง ฮง" หรือ "เพลิงตะวันออก" ใช้ขยายภาคการสื่อสารโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตของประเทศ แต่ยังไม่เปิดเผยกำหนดวันปล่อยดาวเทียม ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2550 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนปล่อยดาวเทียมสื่อสารมูลค่า 257 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับรัฐบาลไนจีเรีย ตามด้วยการปล่อยดาวเทียมสื่อสารมูลค่า 241 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับรัฐบาลเวเนซูเอลาเมื่อปี 2551 ทั้งยังเตรียมปล่อยดาวเทียมสื่อสารให้กับโบลิเวียอีกภายใน 3 ปี
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/oversea/35703

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การใช้ดาวเทียมสื่อสาร

หลักการพื้นฐานของการใช้ดาวเทียมสื่อสาร แสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงระบบดาวเทียมสื่อสาร
ระบบนี้ใช้ความถี่ย่าน SHF ทั้งสองทิศทาง(สัญญาณขาขึ้นและขาลง) ทำให้ชั้นไอโอโนสเฟียร์ไม่มีผลต่อคลื่นวิทยุในงานความถี่ขนาดนี้ และคลื่นค่อนข้างเดินทางเป็นเส้นตรง วิธีสื่อสารชนิด นี้ถูกนำไปใช้ในระบบโทรศัพท์แบบมัลติแชนแนล สำหรับระยะหลายพันกิโลเมตร โดยให้ประสิทธิภาพของระบบสูงมาก

ที่มา http://kmitnb05.kmitnb.ac.th/~mte98012/Chapter11.htm

วิถีการโคจรของดาวเทียมสื่อสาร

วิถีการโคจร ดาวเทียมสื่อสารโคจรเป็นวงกลมในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร หรือที่เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)"
ประโยชน์ที่ได้รับ ด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียม Thaicom 1 และ 2 เป็นดาวเทียมสื่อสารชุดแรกของประเทศไทย ถูกส่งขึ้นไปโคจรในปี พ.ศ. 2536 และ 2537 ตามลำดับ เพื่อให้บริการทางด้านการสื่อสารมีรัศมีการให้ บริการครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย และภูมิภาคใกล้เคียง


ดาวเทียม Thaicom 3 เป็นดาวเทียมสื่อสารอีกดวงหนึ่งของประเทศไทย ถูกส่งขึ้นไปโคจรในปี พ.ศ. 2540 เพื่อให้บริการทางด้านการสื่อสาร มีรัศมีการให้บริการครอบคลุมทั่วทั้ง 4 ทวีป

วิธีการทำงานของดาวเทียมสื่อสาร

ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน นับตั้งแต่ NASA ส่งดาวเทียมสื่อสารเข้าสู่วงโคจรไป จนปัจจุบันมีบริษัทเอกชนจำนวนมากที่เข้ามาบุกเบิกธุรกิจ และทำกำไรมหาศาล จากประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากดาวเทียม ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่สารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
วิธีการทำงาน เนื่องจากดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการหยุด ดาวเทียมสื่อสารจึงถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี ให้สามารถใช้งานในอวกาศได้ประมาณ 10 - 15 ปี โดยที่ดาวเทียมต้องสามารถโคจร และรักษาตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ตลอดเวลา ดาวเทียมสื่อสารทำงานโดยอาศัยหลักการส่งผ่านสัญญาณถึงกันระหว่างสถานีภาคพื้นดินและ ดาวเทียม ซึ่งมีการทำงาน ดังนี้
1. ภาคอวกาศ (Space Segment) ประกอบด้วยตัวดาวเทียม ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1.1 ระบบขับเคลื่อนตัวดาวเทียม (Propulsion Subsystem) โดยจะใช้ก๊าซ หรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้าเพื่อให้เกิดแรงผลักดัน หรือแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดการหมุนและรักษาตำแหน่งของดาวเทียม
1.2 ระบบควบคุมตัวดาวเทียม (Spacecraft Control Subsystem) เพื่อรักษาสมดุลในการทรงตัวของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดลอย ไปในอวกาศหรือถูกแรงดึงดูดของโลกดึงให้ตกลงมาบนพื้นโลก
1.3 ระบบอุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem) เนื่องจากดาวเทียมสื่อสารส่วนใหญ่จะมีทรานสปอนเดอร์ (Transponder) หรือช่องสัญญาณดาวเทียมทำหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งภาคพื้นดินแล้วแปลงความถี่ของสัญญาณดังกล่าวให้เป็นความถี่ขาลง (Downlink Frequency) พร้อมทั้งขยายสัญญาณดังกล่าวเพื่อให้สามารถส่งกลับสู่สถานีภาคพื้นดินได้
1.4 ระบบพลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem) ดาวเทียมสื่อสารทุกดวงจะมีแผงเซลล์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสาร และภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งานอีกด้วย
1.5 ระบบสายอากาศ (Antenna Subsystem) จานสายอากาศบนตัวดาวเทียม จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดิน โดยใช้จานสายอากาศส่วนใหญ่เป็นแบบ Paraboloid มีการส่ง สัญญาณเป็นชนิดที่มีการกำหนดทิศทาง (Directional Beam)
1.6 ระบบติดตามและควบคุม (TT&C Telemetry Tracking and Command Subsystem) ใช้ติดตามการทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้โคจรอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เสมอ จากสถานีควบคุมภาคพื้นดิน (Master Earth Station)
2. ภาคพื้นดิน (Ground Segment) : สถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน (Satellite Earth Station) ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ๆคือ
2.1 อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem) ต้องมีความสามารถในการรวมพลังงานไปในทิศทางที่ตรงกับดาวเทียม และต้องมีความสามารถในการรับสัญญาณจากดาวเทียมได้
2.2 ภาคอุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem) ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณความถี่วิทยุที่ใช้งานเป็นหลัก
2.3 ภาคอุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem) ประกอบด้วย
1) Up Converter Part ทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ IF ซึ่งรับจาก Satellite Modem ให้เป็นความถี่ย่านที่ใช้งานกับระบบดาวเทียมต่าง ๆ จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่แล้วไปให้ภาคขยายสัญญาณย่านความถี่สูง เพื่อส่งสัญญาณไปยังดาวเทียม
2) Down Converter Part ทำหน้าที่แปลงความถี่ของสัญญาณ ที่ได้รับจากดาวเทียมในย่านความถี่ของดาวเทียมไปเป็นความถี่ย่านIF เพื่อส่งต่อให้แก่ภาค Demodulator ของ Satellite Modem
2.4 อุปกรณ์ Modem (Modulator / Demodutator) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมให้อยู่ในรูปของ สัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้ได้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อไป

ที่มา : http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin005/section1_p04.html

ดาวเทียมสื่อสาร

ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสารจะทำหน้าที่ถ่ายทอดทวนสัญญาณ (Repeater) ไปยังสถานีภาคพื้นดินที่ทำการส่งและรับสัญญาณ การส่งสัญญาณจะใช้ความถี่คลื่นไมโครเวฟจากสถานีภาคพื้นดินที่ส่งสัญญาณขาขึ้นหรือ "Up-Link" โดยจานรับสัญญาณบนตัวดาวเทียม จะรับคลื่นสัญญาณข้อมูลภาพและเสียงไว้ แล้วนำไปขยายให้มีความแรงของสัญญาณมากขึ้น หลังจากนั้นค่อยส่งกลับลงมายังสถานีภาคพื้นดินหรือ "Down-Link"
การเชื่อมโยงสัญญาณผ่านดาวเทียม

ดาวเทียม Echo 1
ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมประเภทแรกที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Satellites) โดยดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลกคือ ดาวเทียม Echo 1 สร้างโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) ซึ่งถูกส่งขึ้นไปยังวงโคจรนอกโลกในปี พ.ศ. 2503 ดาวเทียมนี้มีลักษณะเป็นบอลลูนกลม คลุมด้วยอลูมินัม ซึ่งเป็นดาวเทียมที่ไม่มีอัตราการขยายของสัญญาณ โดยจะอาศัยการสะท้อนของสัญญาณวิทยุ ที่ตกกระทบลงบนผิวของบอลลูน และสะท้อนกลับมายังโลก
ดาวเทียม Echo 1

ดาวเทียมอินเทลแซท 8
ดาวเทียวอินเทลแซท 8 (INTELSAT VIII) คือ ดาวเทียมรุ่นล่าสุดของอินเทลแซท ได้รับการออกแบบมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานช่องสัญญาณย่านความถี่ซี - แบนด์ สำหรับการบริการต่างๆ ของอินเทลแซท เช่น เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ, การประยุกต์ใช้งานสื่อสารข้อมูลภาพ และเสียงระหว่างประเทศ
ดาวเทียมอินเทลแซท 8
สำหรับประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การอินเทลแซท เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2509 เป็นสมาชิกลำดับที่ 49 เพื่อขอใช้บริการผ่านดาวเทียมอินเทลแซท โดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้สร้างสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อติดต่อสื่อสารกับสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินในประเทศอื่น
ดาวเทียมสื่อสารของประเทศไทย
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติเป็นของตนเอง นั้นคือ ดาวเทียมไทยคม ซึ่งดำเนินงานโดย บริษัท ชินเซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ดวงได้แก่
ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536
ดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537
ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540
ดาวเทียมไทยคมทั้ง 3 ดวง เป็นดาวเทียมสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารของประเทศไทย ให้มีเทคโนโลยีรุดหน้าทัดเทียมกับประเทศต่างๆ อีกทั้งยังช่วยตอบสนองการใช้งานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และการกระจายเสียงโทรทัศน์ของประเทศไทยที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ที่มา : http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=20&post_id=4695

ประวัติดาวเทียมสื่อสาร


ประวัติ
ดาวเทียมสื่อสารที่ส่งขึ้นไปครั้งแรกเมื่อปี 2508 โดยองค์การโทรคมนาคม ผู้ที่ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนวนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาสร้างจินตนาการการสื่อสารดาวเทียมให้เรารับรู้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 โดยเขียนบทความเรื่อง "Extra Terrestrial Relay" ในนิตยสาร Wireless World ฉบับเดือน ตุลาคม 1945 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึงการเชื่อมระบบสัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุมโลกหนึ่ง ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลกขึ้นไปประมาณ 35,786 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี
ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 ข้อคิดในบทความของอาร์เธอร์ ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียม
สปุตนิก ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารดวงแรกที่ชื่อว่า สกอร์ (Score) ขึ้นสู่อวกาศ และได้บันทึกเสียงสัญญาณที่เป็นคำกล่าวอวยพรของประธานาธิบดีโอเซนฮาร์ว เนื่องเทศกาลคริสต์มาสจากสถานีภาคพื้นดินแล้วถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ชาวโลก นับเป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมภาคพื้นโลกได้เป็นครั้งแรก
วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1964 ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จำนวน 11 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้งองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ หรือเรียกว่า “
อินเทลแซท” (INTELSATINTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS SATELLITE ORGANIZATION) ขึ้นที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยให้ประเทศสมาชิกเข้าถือหุ้นดำเนินการใช้ดาวเทียมเพื่อกิจการโทรคมนาคมพานิชย์แห่งโลก INTELSAT ตั้งคณะกรรมการ INTERIM COMMUNICATIONS SATELLITE COMMITTEE (ICSC) จัดการในธุรกิจต่าง ๆ ตามนโยบายของ ICSC เช่นการจัดสร้างดาวเทียมการปล่อยดาวเทียมการกำหนดมาตราฐานสถานีภาคพื้นดิน การกำหนดค่าเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1964 ได้มีการถ่ายทอดโทรทัศน์พิธีเปิดงานกีฬา
โอลิมปิกครั้งที่ 18 จากกรุงโตเกียว ผ่านดาวเทียม “SYNCOM III” ไปสหรัฐอเมริกานับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมครั้งแรกของโลก
วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1965 COMSAT ส่งดาวเทียม “TELSAT 1” หรือในชื่อว่า EARLY BIRD ส่งขึ้นเหนือ
มหาสมุทรแอตแลนติก ถือว่าเป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เพื่อการพานิชย์ดวงแรกของโลก ในระยะหลังมีหลายประเทศที่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง (DOMSAT) เพื่อใช้ในการสื่อสารภายในประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคม

บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติของกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยได้รับ การคุ้มครองสิทธิเป็นเวลา 8 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามดาวเทียมของ โครงการอย่างเป็นทางการว่า "ไทยคม" (THAICOM) เพื่อเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทย กับเทคโนโลยี สื่อสารใหม่ และในปีเดียวกันกลุ่มชินวัตรได้จัดตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดเพื่อดำเนินการโครงการ โดยทำหน้าที่จัดสร้างจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการ ดาวเทียมไทยคมตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 18 มกราคม 2537 และ ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)" ปัจจุบันบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียม ไทยคม 1A, 2 และ 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่นHS-376 สามารถให้บริการของช่องสัญญาณจำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบ่งเป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เป็น ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกานอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศในภูมิภาพอินโดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย

ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมไทยคมมีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษ และเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้
ด้านโทรทัศน์ สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้านวิทยุกระจายเสียง สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ ด้านโทรศัพท์ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ

ลักษณะและการใช้งานของดาวเทียมไทยคม

ลักษณะและการใช้งาน
ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 3 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์
ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

ไทยคม 2
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)

ไทยคม 3
ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า

ไทยคม 4

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี

ไทยคม 5
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3











ดาวเทียมไทยคมดาวเทียมดวงแรกของไทย



ดาวเทียมไทยคมดาวเทียมดวงแรกของไทย
18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร จากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานชื่อ “ไทยคม” เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2534 โดยมาจากคำว่า ไทยคม (นาคม) สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ (Hughes Aircraff) สหรัฐอเมริกา สามารถถ่ายทอดได้ทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และการสื่อสารข้อมูล ต่อมาได้ชื่อใหม่เป็น “ดาวเทียมไทยคม 1A” ปัจจุบันได้มีดาวเทียมไทยคมทั้งหมด 3 ดวงคือมี ดาวเทียมไทยคม 2 และไทยคม 3 เจ้าของคือกลุ่มชินคอร์ป ซึ่งต่อมาได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเสก ของสิงค์โปร์ ดังนั้นเจ้าของเครือข่ายดาวเทียมไทยคมก็คือนายทุนจากสิงคโปร์

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 26 มกราคม 2550 และ http://techno.obec.go.th/

ดาวเทียมธีออส สำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย

ดาวเทียมธีออส สำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย
ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite)
เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศไทย
มีมูลค่าการลงทุนกว่า 6,000 ล้านบาท
เป็นโครงการก่อสร้างแบบการค้าต่างตอบแทนพืชผลการเกษตรของไทยกับประเทศฝรั่งเศส
ได้มีกำหนดปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในราวเดือน ต.ค.50
โดย ได้เลือกสถานที่ปล่อยดาวเทียมแล้ว ณ เมืองไบโคนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน

ดาวเทียมดังกล่าวจะมีอายุการใช้งานขั้นต่ำสุด 5 ปี
เช่นเดียวกับดาวเทียมในลักษณะเดียวกันดวงอื่นๆ
แต่ก็เชื่อว่าจะยืดอายุการใช้งานให้นานถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้นได้
ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหลังการใช้งาน 5 ปีเพิ่มขึ้นบ้างแต่ไม่มากนัก

จะใช้ประโยชน์จากดาวเทียมธีอออสในด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
อาทิ ป่าไม้ น้ำ พื้นที่การเกษตร และการประมง
ซึ่งจะต้องร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยจัดทำระบบและซอฟต์แวร์การใช้งานขึ้น
โดยเชื่อว่าซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะสามารถนำไปปรับใช้
กับการบริหารงานภาพถ่ายดาวเทียมดวงอื่นๆ ของโลกได้ด้วย
รวมไปถึงการใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมธีออสไปประกอบกับภาพถ่ายภาคพื้นดิน
เพื่อใช้บริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ทั้งนี้ ประธานกรรมการบริหาร สทอภ.ยังบอกด้วยว่า
หลังจากปล่อยดาวเทียมธีออสขึ้นสู่วงโคจรแล้ว
จะใช้เวลาตรวจดูความเรียบร้อยต่างๆ ประมาณ 3 เดือน
จึงจะเริ่มปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพ หรือภายในสิ้นปี 50 นี้
โดยบริษัทคู่สัญญาของไทยคือ อีเอดีเอส แอสเตรียม (EADS Astrium)
ในชื่อใหม่คือ แอสเตรียม เอส.เอ.เอส. (Astrium S.A.S.)
จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปล่อยยานทั้งหมด 600 ล้านบาท
โดยใช้จรวด “เน็ปเปอร์” (DNEPR) ของประเทศยูเครน เป็นจรวดนำส่ง

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 26 มกราคม 2550 และ http://techno.obec.go.th/

รายชื่อดาวเทียมตามการใช้งาน

รายชื่อดาวเทียมตามการใช้งาน
1. ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารแบบจุดต่อจุด เช่น PALAPA THAICOM
2. ดาวเทียมสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น TDRS
3. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ เช่น INMASAT
4. ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรศัพท์ เช่น ASTRA
5. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพย์ยากรธรรมชาติ เช่น LANDSAT
6. ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่น METEOR EXPLORER
7. ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น GMS NOAA 6-9
8. ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น SPAS SKYLAB
9. ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น JAS-1 JAS-2 AO-40
10. ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น NAVSTAR
11. ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และ อากาศยาน เช่น TRANSIT COSMOS

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติของดาวเทียม


ประวัติและพัฒนาการของดาวเทียม GPS
ในศตวรรษที่ 20 ในการพัฒนาเครื่องส่งวิทยุทำให้เครื่องช่วยการเดินทางได้พัฒนาไป อีกขั้นเรียกว่า Radio beacons รวมทั้ง Loran และ Omega ในที่สุดเทคโนโลยีของดาวเทียมทำให้เครื่องช่วยการเดินทางและการหาตำแหน่งจะพิจารณาจากเส้นที่สัญญาณเดินทางผ่านด้วยการวัดของ Doppler ที่เคลื่อนที่ไป ซึ่งมีระบบ Transit เป็นระบบเครื่องช่วยการเดินเรือโดยอาศัยดาวเทียม ได้รับการคิดค้นสำเร็จในปี ค.ศ.1950 และใช้งานอยู่ 33ปี จึงได้ปลดประจำการไป ระบบ Transit ได้พัฒนามาให้ข้อมูลการหาตำแหน่งที่แน่นอนให้กับเรือดำน้ำ polaris ที่มีจรวดนำวิถี หลักการคือ การคาดการณ์โดยใช้ความถี่ Doppler ที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปจากดาวเทียม Sputnik ส่งโดยสหภาพโซเวียตในเดือนตุลาคม 1957 สัญญาณเปลี่ยนของ Doppler สามารถพิจารณาการโคจรของดาวเทียมใช้ข้อมูลที่จดเอาไว้ที่สถานีหนึ่งเมื่อดาวเทียมโคจรผ่านไป ระบบ Transit ประกอบด้วย ดาวเทียม 6 ดวงที่เกือบเป็นวงกลม การโคจรผ่านขั้วโลกที่ความสูง 1,075 กิโลเมตร ระยะเวลาของการหมุน 107 นาที การโคจรของดาวเทียม Transit จะแน่นอนกว่าโดยการติดตามจากสถานีพื้นโลกที่กำหนดไว้ ด้วยสภาพที่น่าพอใจความเร็วที่แน่นอนเป็น 35 ถึง 100 เมตร รอบต่อนาที ปัญหาของ Transit คือการครอบคลุมพื้นที่มีช่องว่างระหว่างกันมาก ผู้ใช้ต้องคำนวณโดยการ interpolate ตำแหน่งของตนเองระหว่างที่ดาวเทียมโคจรผ่านไป
ความสำเร็จของ Transit เป็นการกระตุ้นให้ทั้งกองทัพเรือและกองทัพอากาศของสหรัฐฯ พิจารณาระบบช่วยการเดินทางที่ก้าวหน้ากว่าเดิมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทางกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ผลิตระบบการหาตำแหน่ง Navstar ทั่วโลก ซึ่งจะเอาไว้ในการระบุตำแหน่งการนำวิถีของจรวดทั้งทางบกและทางอากาศและยังสามารถบอกได้ว่ากองกำลังทหารอยู่ ณ ที่ใดของสนามรบและนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตคิดค้นระบบวิธีการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ซึ่งระบบ GPS จะขัดแย้งกับ Transit คือระบบ GPS ให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องและให้ความถูกต้องและแม่นยำกว่าระบบเดิม ซึ่งได้ผลิตให้ดาวเทียมมีความทันสมัย ( Modernization) และเหมาะสมในการนำไปใช้งานต่างๆจนถึงปัจจุบันดาวเทียม GPS ได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้วถึง 4 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 เรียกว่า Block I
รุ่นที่ 2 เรียกว่า Block II/IIA
รุ่นที่ 3 เรียกว่า Block IIR
รุ่นที่ 4 เรียกว่า Block IIF

ที่มา : http://wiki.nectec.or.th/ngiwiki/pub/Main/UserForm/GPS__Global_Positioning_System.doc

ประเภทของดาวเทียม

ประเภทของดาวเทียม
1. ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่อสารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง

2. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล
หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ
3. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด(Infared) เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บนดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละดวง

4. ดาวเทียมบอกตำแหน่ง
ระบบหาตำแหน่งโดยใช้ดาวเทียม (Global Positioning Satellite System - GPS) ถูกพัฒนาโดยทหารสำหรับการใช้งานในกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เป็นระบบนำร่องให้กับเครื่องบิน เมื่อดาวเทียมที่ใช้กับระบบ GPS ขยายตัวมากขึ้น จึงมีพื้นที่การครอบคลุมมากขึ้น และได้มีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น การนำร่องให้เรือเดินสมุทรพาณิชย์ในบริเวณที่ระบบนำร่องภาคพื้นดิน ไม่สามารถใช้ได้

5. ดาวเทียมประเภทอื่นๆ
-ดาวเทียมสมุทรศาสตร์
เราสามารถนำดาวเทียมไปใช้กับงานได้หลากหลายสาขา งานทางด้านสำรวจทางทะเลก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ดาวเทียมได้เข้าไปมีบทบาทปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนักชีววิทยาทางทะเลสามารถตรวจจับความ เคลื่อนไหวของทุกสรรพสิ่งในท้องทะเลได้ ก็ด้วยการใช้งานจากดาวเทียมนั่นเอง โดยนำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทางทะเลมาตรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ลักษณะสิ่งมีชีวิต ความแปรปรวนของคลื่นลมและกระแสน้ำ จนกระทั่งได้รายงานสรุปสภาพทางทะเลที่สมบูรณ์
-ดาวเทียมสำรวจอวกาศ
ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่มาก โดยดาวเทียมประเภทนี้จะถูกนำขึ้นไปสู่วงโคจรที่สูงกว่าดาวเทียมประเภทอื่น ๆ ลึกเข้าไปในอวกาศ ดังนั้นดาวเทียมสำรวจอวกาศจึงให้ภาพที่ไร้สิ่งกีดขวางใด ๆ ไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกมากั้น ดาวเทียมสำรวจอวกาศบางดวงก็จะนำอุปกรณ์ตรวจจับ และบันทึกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางดวงก็จะมีหน้าที่ตรวจจับและบันทึกรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต
-ดาวเทียมจารกรรม
ดาวเทียมที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่งก็คือ ดาวเทียมเพื่อการจารกรรมหรือสอดแนม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกัน แต่ที่นิยมมากที่สุดคือประเภทที่ใช้เพื่อการลาด ตระเวน โดยมีการติดกล้องเพื่อใช้ในการถ่ายภาพพิเศษ สามารถสืบหาตำแหน่งและรายละเอียดเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการได้ ดาวเทียมจะมีอุปกรณ์ตรวจจับ คลื่นวัตถุด้วยเรด้าร์และ แสงอินฟราเรด ซึ่งสามารถตรวจจับได้ทั้งในที่มืด หรือที่ที่ถูกพรางตาไว้


สิ่งอ้างอิง
http://hs8iye.igetweb.com/index.php?mo=3&art=121890
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Html/HtmlHisSat/HisSatilliteSurver

นายนาทนคร เกิดเสม 49280134 หมู่770

วงโคจรดาวเทียม


วงโคจรของดาวเทียม
วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ

1. วงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit "LEO")อยู่สูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1,000 กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง แต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้นทางวงโคจรที่ผ่านไป ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนดเส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ หรือก่อนสว่าง เพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว
2. วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO")อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 1,000 กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา และสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน
3. วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO")เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดู เหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")ดาวเทียมจะอยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับ เส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,786 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่า “วงโคจรค้างฟ้า” หรือ “วงโคจรคลาร์ก” (Clarke Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ เมื่อ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1945วงโคจรคลาร์ก เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (EQUATOR) ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุม เท่ากันกับการหมุนของ โลกแล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดี เป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่ ณ ระดับความสูงนี้ ดาวเทียมค้างฟ้า ส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ๆลๆ


ที่มา : http://hs8iye.igetweb.com/index.php?mo=3&art=121890
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Html/HtmlHisSat/HisSatilliteSurver

นายนาทนคร เกิดเสม 49280134 หมู่770

ส่วนประกอบของดาวเทียม

ส่วนประกอบของดาวเทียม
ดาวเทียมเป็นเครื่องยนต์กลไกที่ซับซ้อนมาก ส่วนประกอบแต่ละส่วนถูกออกแบบอย่างประณีต และมีราคาแพง m ดาวเทียมดวงหนึ่งๆ จะต้องทำงาน โดยไม่มีคนควบคุมโคจรด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนี จากแรงดึงดูดของโลกได้ ผู้สร้างดาวเทียมจะพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมมีส่วนประกอบมากมาย แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป ดาวเทียมจะมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน ระบบย่อยๆ แต่ละอย่างต่างก็มีหน้าที่การทำงานเฉพาะ
1. โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)

2. ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสูญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
3. ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงาน (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
4. ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
5. ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
6. อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
7. เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ


ชิ้นส่วนต่างๆของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียดส่วนประกอบต่างๆถูกออกแบบสร้างและทดสอบ ใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่าง ๆได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด




วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดาวเทียม

ดาวเทียม


ดาวเทียม คือ วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การรายงานสภาพอากาศ หรือเพื่อการลาดตระเวนทางทหาร ดาวเทียมเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จะทำหน้าที่ในการ สังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงวัตถุประหลาดต่างๆ ในกาแลกซี่ หรือระบบสุริยจักรวาล ..
ดาวเทียม ประเภทของดาวเทียมบางประเภท เช่น
1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
2. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์
3. ดาวเทียมชีวภาพ
4. ดาวเทียมทางการทหาร
5. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก
6. ดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคม
7. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์

8. ดาวเทียมห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น ห้องทดลอง LDEF ซึ่งยานขนส่งอวกาศนำไปปล่อยในอวกาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2527 และนำกลับลงมา เมื่อ 12 ม.ค. 2533 โครงการทดลองนำเมล็ดมะเขือเทศ 5 ถุงใหญ่ หลังกลับมาแล้วจ่ายเมล็ดมะเขือเทศ 2 แบบ ให้ศึกษาคือที่นำมาจากอวกาศเปรียบเทียบกับที่ผิวโลกศึกษาการเจริญเติบโตของเมล็ด มะเขือเทศทั้งสอง

การส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากพื้นโลกขึ้นสู่อวกาศ ต้องต่อสู้กับแรงดึงดูดของโลก ดาวเทียมและยานอวกาศต้องเอาชนะ แรงดึงดูดของโลก โดยอาศัยจรวดที่มีแรงขับดันและความเร็วสูง ความเร็วของจรวดต้องมากกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที ยานอวกาศจึงจะสามารถขึ้นไปสู่อวกาศและโคจรรอบโลกในระดับต่ำที่สุด (0 กิโลเมตร) ได้ ถ้าความเร็วมากว่านี้ ยานจะขึ้นไป โคจรอยู่ในระดับที่สูงกว่า เช่น ถ้าหากความเร็วจรวดเป็น 8.66 กิโลเมตรต่อวินาที ยานจะขึ้นไปได้สูง 1,609 กิโลเมตร ถ้าหากจะให้ ยานหนีออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ จรวดที่พายานออกไปต้องมีความเร็วที่ผิวโลกมากกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape Velocity)หรือความเร็วผละหนีความเร็วหลุดพ้นจากโลกจะลดต่ำลงเมื่อห่างจากโลกมากขึ้น ดังตารางความสูงจากผิวโลกและความเร็วผละหนี


ที่มา : http://learn.chanpradit.ac.th/nuch/nudee/H1.html