วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ดาวเทียม GMS-5 (Geostationary Meteorological Satellite 5) ใช้ระบบ VISSR (Visible and Infrared Spin Scan Radiometer) เพื่อใช้ตรวจ สอบพื้นผิวโลก ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น คือ 0.55 - 1.05 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 1.25 กม. ช่วงคลื่นอินฟราเรด 10.5 - 12.5 ไมโครเมตร และช่วงคลื่น 6.2 - 7.6 ไมโครเมตร มีรายละเอียดของภาพ 5 กม. มีระบบ Weathersensor 200 ที่รับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียม GMS-5 ซึ่งโคจรที่ระดับความสูง 35,800 กม. ในวงโคจรค้างฟ้า เหนือเส้นศูนย์สูตร ณ ตำแหน่งลองจิจูด 140 องศาตะวันออก ระบบนี้สามารถแสดงอุณหภูมิ และความหนาแน่นของเมฆหมอกด้วยการใช้ระดับสี ดาวเทียม GMS-5 สำรวจครอบคลุมบริเวณย่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทางเอเชีย โดยเหตุที่สภาพภูมิอากาศในย่านมหาสมุทร และเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ งานด้านการบิน (Aviation) การศึกษา (Education) และการป้องกันภัยพิบัติ (Disaster prevention) ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำมาใช้สำหรับงานวิจัยและการสาธิตต่าง ๆ ระบบ Weathersensor 200 ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการรับข้อมูลของสภาพภูมิอากาศ ล่าสุด ณ เวลา และบริเวณที่ต้องการ
ดาวเทียม NOAA (National Oceanographic and Atmospheric Administration) โคจรที่ระดับความสูงประมาณ 850 กม. ในวงโคจรแบบ สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ทำการถ่ายภาพด้วยระบบ AVHRR (Advanced Very High Resolution Radiometer) ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น 2 ช่วงคลื่น และช่วงคลื่นความร้อน 2 ช่วงคลื่น ได้แก่ 0.55 - 0.90 ไมโครเมตร, 0.725 - 1.0 ไมโครเมตร, 10.5 - 11.5 ไมโครเมตร และ 3.55 - 3.93 ไมโครเมตร นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มช่วงคลื่นความร้อนช่วงที่ 3 เพื่อใช้ในการหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว มีรายละเอียดของภาพ 1.1 กม. ในแนวดิ่ง ความกว้างของแนวภาพ 2,800 กม. บันทึกข้อมูลวันละ 2 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนี้มีระบบ TOVS (TIROS Operational Vertical Sounder) ใช้ในการคำนวณค่าอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศในแนวดิ่ง แยกได้เป็น 3 ระบบย่อย คือ 1. HIRS/2 ( High Resolution Infrared Radiometer )
2. SSU ( Stratospheric Sounding Unit)
3. MSU ( Microwave Sounding Unit )




ที่มา : http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin005/section2_p01.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น