วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

จากวิวัฒนาการดาวเทียมในยุคอวกาศ นักอุตุนิยมวิทยาได้มีเครื่องมืออย่างดีเลิศอีกอย่างหนึ่งในการตรวจอากาศ คือ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (meteorological satellite) ตามธรรมดาแล้วสถานีตรวจอากาศแห่งหนึ่งๆ สามารถตรวจสารประกอบอุตุนิยมวิทยาได้เพียงบริเวณเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางแห่ง เช่น ในมหาสมุทร ทะเลทราย หรือในบริเวณขั้วโลกด้วยแล้ว จะทำการตรวจอากาศได้น้อยมาก เพราะบริเวณเหล่านั้นไม่ค่อยจะมีมนุษย์อาศัยอยู่ ข้อมูลที่ได้รับจากดาวเทียมนี้จึงเป็นประโยชน์ในการช่วยพยากรณ์อากาศและช่วยในการจับภาพพายุไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคนได้เป็นอย่างดี ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยามีกล้องสำหรับถ่ายภาพเมฆ และสามารถส่งภาพกลับมายังสถานีรับที่พื้นดินได้ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพเมฆได้เป็นบริเวณกว้างทั้งในมหาสมุทรและแผ่นดิน ยิ่งกว่านั้นยังเป็นเครื่องมือเฝ้าดูการเกิดของพายุได้ด้วย เช่น การเกิดพายุไต้ฝุ่นเป็นต้น นอกจากนี้ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยายังสามารถวัดรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกไปจากโลกได้ และยังจะช่วยในการตรวจฟ้าแลบ การเคลื่อนตัวของเมฆ และการวัดอุณหภูมิตามระดับต่างๆ ได้ด้วย นอกจากนี้ดาวเทียมยังมีประโยชน์ในด้านวิชาภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา เป็นต้น เช่น ภาพดาวเทียมแสดงบริเวณของแม่น้ำ ทะเลน้ำแข็ง หิมะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการพยากรณ์น้ำท่วม ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาบางดวงของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ดาวเทียมไทรอส (TIROS ย่อมาจาก Television and Infrared Observation Satellite) ดาวเทียมนิมบัส (NIMBUS มาจากภาษาละตินแปลว่าเมฆ) ดาวเทียมเอสสา (ESSA ย่อมาจาก Earth or En-vironmental Survey Satellite) ดาวเทียมโนอา (NOAA ย่อมาจาก National Ocea-nographic and Atmospheric Administration) ดาวเทียมแอตส์ (ATS ย่อมาจาก Advanced Tech-nology Satellite)



ที่มา : http://guru.sanook.com/search/การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น