วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคม

บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติของกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยได้รับ การคุ้มครองสิทธิเป็นเวลา 8 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามดาวเทียมของ โครงการอย่างเป็นทางการว่า "ไทยคม" (THAICOM) เพื่อเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทย กับเทคโนโลยี สื่อสารใหม่ และในปีเดียวกันกลุ่มชินวัตรได้จัดตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดเพื่อดำเนินการโครงการ โดยทำหน้าที่จัดสร้างจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการ ดาวเทียมไทยคมตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 18 มกราคม 2537 และ ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)" ปัจจุบันบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียม ไทยคม 1A, 2 และ 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่นHS-376 สามารถให้บริการของช่องสัญญาณจำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบ่งเป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เป็น ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกานอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศในภูมิภาพอินโดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย

ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมไทยคมมีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษ และเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้
ด้านโทรทัศน์ สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้านวิทยุกระจายเสียง สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ ด้านโทรศัพท์ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น