ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด (Infared) โดยมีดาวเทียม Essa 1 เป็นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรก ของโลก ซึ่งถูกส่งขึ้นไปโดยสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1966
วิธีการทำงาน เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บนดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละดวง
วิถีการโคจร ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจะมีลักษณะการโคจรทั้งแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์(Sun-Synchronous) ซึ่งเป็นวงโคจรในแนวเหนือ-ใต้ และผ่านแนวละติจูดหนึ่ง ๆ ที่เวลาท้องถิ่นเดียวกัน และแบบโคจรเป็นวงในแนวระนาบกับเส้นศูนย์สูตร หรือที่เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Orbit)" ซึ่งวงโคจรจะแตกต่างกันตามพื้นที่ ที่ครอบคลุมการใช้งาน
ประโยชน์ที่ได้รับ - ช่วยบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ โดยสามารถเตือนให้ทราบถึงพายุต่างๆ
- พยากรณ์อากาศ และใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ทางอุตุนิยมวิทยา
- ตรวจอุณหภูมิเมฆ อุณหภูมิผิวหน้าทะเล อุณหภูมิผิวหน้าดิน และดัชนีพืช
ที่มา : http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/oraphin005/section2_p01.html
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น