วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

2. การใช้ดาวเทียม NOAA ในการตรวจหาไฟ

ในปัจจุบันดาวเทียมที่นิยมใช้ในการตรวจหาไฟ ได้แก่ดาวเทียม GOES และดาวเทียมในตระกูล NOAA ซึ่งเป็นดาวเทียมทางอุตุนิยมวิทยาและการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยดาวเทียม NOAA นี้จะโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงประมาณ 850 กิโลเมตร และโคจรกลับมาที่จุดเดิมในทุกๆ 100 นาที ทำให้สามารถตรวจหาไฟในจุดเดิมได้ในทุกๆ 100 นาทีด้วยเช่นกัน โดยอุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นรังสีความร้อนที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม NOAA ซึ่งเรียกว่า AVHRR นี้สามารถตรวจวัดพื้นที่ที่เล็กที่สุด (Pixel) ได้เท่ากับ 1.21 ตารางกิโลเมตร หมายความว่าพื้นที่ที่เกิดไฟป่าจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อยที่สุด 1.21 ตารางกิโลเมตร ดาวเทียม NOAA จึงจะสามารถตรวจพบไฟได้ ซึ่งในทางปฏิบัติหากปล่อยให้ไฟลุกลามจนมีขนาดใหญ่กินพื้นที่ถึง 1.21 ตารางกิโลเมตร จึงค่อยตรวจพบ จะเป็นการไม่ทันการณ์ เพราะจะเกิดความเสียหายต่อพื้นที่ป่าเป็นอย่างมาก การควบคุมไฟจะยากลำบาก กินเวลานาน และเสียค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามข้อมูลการตรวจหาไฟจากดาวเทียม NOAA จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประเมินสถานการณ์และวางแผนควบคุมไฟป่าในภาพรวม
ในปัจจุบัน มีการใช้ดาวเทียม NOAA ในการตรวจหาไฟในหลายภูมิภาคของโลก (ภาพที่ 5.6) สำหรับในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียงประเทศอินโดนีเซียประเทศเดียวที่มีการตรวจหาไฟด้วยระบบดังกล่าว ภายใต้ความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการของ GTZ ที่ตรวจหาไฟในจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก โครงการของ JICA และโครงการของ EU ที่ตรวจหาไฟในเกาะสุมาตรา เป็นต้น (Ueda, 1998)
ที่มา : http://www.dnp.go.th/forestfire/FIRESCIENCE/lesson%205/lesson5_5.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น